ธงชาติภูฏาน

ธงชาติภูฏาน
ธงชาติภูฏาน มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมพื้นผ้ากว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน พื้นธงแบ่งเป็นสองส่วนตามแนวทแยงมุม จากมุมธงด้านปลายธงบนมายังมุมธงด้านต้นธงล่าง ครึ่งบนเป็นพื้นสีเหลือง ครึ่งล่างเป็นพื้นสีส้ม กลางธงระหว่างเส้นทแยงมุมมีรูปมังกรสายฟ้าสีขาวหรือดรุก หันหน้าไปทางด้านปลายธง ต้นแบบของธงนี้เริ่มใช้ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 24 ก่อนจะเปลี่ยนแปลงมาเป็นธงรูปแบบปัจจุบันเมื่อ พ.ศ. 2512

ความหมายของธงชาติของภูฏานมีดังนี้

* สีเหลือง ครึ่งบนของธงชาติ หมายถึง พระราชอำนาจแห่งพระมหากษัตริย์ เป็นสีที่แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองทั้งทางโลกและทางธรรม

* สีส้ม ครึ่งล่างของธงชาติ หมายถึง การปฏิบัติธรรมและความเสื่อมใสและศรัทธาของชาวภูฏานที่มีต่อศาสนาพุทธ

* มังกรที่อยู่ตรงกลางของธงชาติ หมายถึง ประเทศดรุกยุล มีความหมายว่าดินแดนแห่งมังกรสายฟ้า ซึ่งเป็นชื่อของประเทศภูฏานในภาษาฌงฆะ ตัวมังกรมีสีขาวบริสุทธิ์ แสดงออกถึงความจงรักภักดีของคนทุกเชื้อชาติ ทุกภาษาที่อยู่ในประเทศนี้ ท่าทีที่มังกรกำลังอ้าปากคำรามนั้น สื่อถึงความมีอำนาจน่าเกรงขามของเหล่าพระผู้เป็นเจ้าทั้งชายและหญิงที่ปกป้องภูฏาน

ธงชาติ
ธงชาติภูฏาน
ประเทศ - ภูฏาน

Warning: getimagesize(/Image/Map/MP1252634.gif): failed to open stream: No such file or directory in /home/mapnlee7/public_html/MAPNALL/article.php on line 532


Neighbourhood - ประเทศ
  •  จีน 
  •  อินเดีย